บทความ

รอยพระพุทธบาทเวินปลา

รูปภาพ
รอยพระพุทธบาทเวินปลา รอยพระพุทธบาทเวินปลา รอยพระพุทธบาทเวินปลา ตั้งอยู่ ณ วัดพระบาทเวินปลา บ้านเวินปลา ตำบลเวินพระบาท อำเภอท่าอุเทน ปรากฎอยู่บนโขดหินเล็ก ๆ ในแม่น้ำโขง ที่บนฝั่งแม่น้ำห่างกันประมาณ100 เมตร ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีเนินดินเล็ก ๆ ขนาดกว้างประมาณ 30 เมตร ยาวประมาณ 50 เมตร และสูงประมาณ 1 เมตร เรียกว่าดอนพระบาท โขดหินอันเป็นที่ตั้งรอยพระพุทธบาท อยู่ในแนวตั้งเอน มีความยาวประมาณ 2-10 เมตร สูงพ้นน้ำขึ้นมาประมาณ 2 เมตร ด้านบนโขดหินมีลักษณะคล้ายรอยเท้ามนุษย์อยู่สองรอย รอยบนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 55 เซนติเมตร ยาว 2.05 เมตร รอยล่างเป็นแผ่นแบบเรียบตรงกลางมีรูกลมหนึ่งรูมีนิ้วห้านิ้ว นิ้วโป้งอยู่ด้านล่าง จะปรากฏในช่วงหน้าแล้งและชัดที่สุดในเดือนเมษายนของทุกปี องค์การบริหารส่วนตำบลเวินปลา จึงกำหนดจัดงาน “นมัสการพระพุทธบาทเวินปลา” เพื่อระลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยให้มาสักการะบูชารอยพระพุทธบาทเวินปลาเพื่อเป็นสิริมงคล ในระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน 2556 ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลเวินปลาและชาวบ้านได้ร่วมใจกันสร้างสะพานไม้ทอดยาวจากฝั่งไปกลางลำน้ำโขง เพื่

วัดพุทธนิมิต บ้านตาลหนองเทา ต.หนองเทา อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม

รูปภาพ
3.วัดพุทธนิมิต วัดพุทธนิมิต  บ้านตาลหนองเทา  ต.หนองเทา อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม จากศรัทธา และความเชื่อในการสร้างงานศิลป์ ถ่ายทอดผ่านแรงบันดาลใจ  ความลงตัวของสถาปัตยกรรม จากวัดเชียงทอง เมืองหลวงพระบาง สปป.ลาว  ภาพเขียนฝาผนัง ที่บอดเล่าถึงเรื่องราว พุทธประวัติ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต ของคนริมโขง แฝงไว้ด้วยปรัชญาธรรม ผ่านประติมากรรมแบบนูนต่ำ นูนสูง และลอยตัว ไม้แกะสลัก ปูนปั้น ที่บอกถึงเรื่องราวของป่าหิมพาน 12 นักกษัตร      รวมถึงแรงศรัทธา ความเชื่อทางพระพุทธศาสนา    หลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นนิมิตหมายอันดีงาม ที่พระอาจารย์สุพิช   รตนโชโต เจ้าอาวาสวัดพุทธนิมิต พร้อมลูกศิษย์ ชาวบ้าน ชาวพุทธทุกๆท่านที่มีจิตรศรัทธาร่วมกันสร้างอุโบสถส์หลังนี้ จนสำเร็จลุล่วงเป็นอย่างดี

วัดพระธาตุท่าอุเทน

รูปภาพ
1.พระธาตุท่าอุเทน พระธาตุท่าอุเทน  ตั้งอยู่ภายใน วัดพระธาตุท่าอุเทน   อำเภอท่าอุเทน   จังหวัดนครพนม  องค์พระธาตุก่ออิฐถือปูนเป็นผังรูปสี่เหลี่ยมคล้าย พระธาตุพนม  สร้างเป็น 3 ชั้น ชั้นแรกเป็นอุโมงค์บรรจุของมีค่าต่าง ๆ ชั้นที่ 2 สร้างครอบอุโมงค์ ชั้นที่ 3 คือเจดีย์องค์ใหญ่ สูงประมาณ 66 เมตร พระอาจารย์ศรีทัตถ์เป็นผู้สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2454 ใช้เวลาทั้งสิ้น 6 ปี จึงแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2459 เมื่อปี พ.ศ. 2540 ส่วนซุ้มประตูชั้นล่างขององค์พระธาตุด้านทิศใต้ได้พังทลายลง กรมศิลปากรจึงได้ทำการบูรณะจนแล้วเสร็จ ในปี พ.ศ. 2541 พร้อมทั้งได้ทำการเสริมคานคอนกรีตภายในเพื่อป้องกันองค์พระธาตุพังทลาย วัดพระธาตุท่าอุเทน ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ และกำหนดขอบเขตโบราณสถานใน ราชกิจจานุเบกษา  เล่มที่ 115 ตอนพิเศษ 4ง หน้า 2 ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2541 มีพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ 2 งาน 89.48 ตารางวา พระธาตุนี้เป็นศิลปกรรมและปูชนียสถานอันสำคัญยิ่งองค์หนึ่ง บรรจุพระธาตุของพระอรหันต์ ซึ่งพระอาจารย์ศรีทัตถ์ได้อัญเชิญมาจากเมือง ย่างกุ้ง  จะมีงานนมัสการพระธาตุในวันขึ้น 13 ค่ำ ถึงแรม 1 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปี